



LRU Poster 2023 บทความวิชาการ

LRU Poster 2023 บทความวิจัย-วิทยานิพนธ์

ประชาสัมพันธ์
-
ดาวน์โหลดเกียรติบัตร28 มีนาคม 2566 09:55:40
-
หนังสือตอบรับผู้ได้รับการเข้าร่วมการนำเสนอผลงาน รอบที่ 217 กุมภาพันธ์ 2566 09:15:49
-
ประกาศรายชื่อผู้ได้รับการเข้าร่วมนำเสนอรอบที่ 2 ประจำปี 256616 กุมภาพันธ์ 2566 08:56:40
-
หนังสือตอบรับผู้ได้รับการเข้าร่วมการนำเสนอผลงาน รอบที่ 18 กุมภาพันธ์ 2566 10:46:20
-
ประกาศรายชื่อผู้ได้รับการเข้าร่วมนำเสนอรอบที่ 1 ประจำปี 25667 กุมภาพันธ์ 2566 16:18:25
-
LRU Poster 2023 บทความวิชาการ (Power Point)23 มกราคม 2566 15:46:12
-
LRU Poster 2023 บทความวิจัย-วิทยานิพนธ์ (Power Point)23 มกราคม 2566 15:45:55
-
แบบฟอร์มชี้แจงการแก้ไขบทความวิจัย-วิทยานิพนธ์30 พฤศจิกายน 2565 12:31:55
-
แบบฟอร์มชี้แจงการแก้ไขบทความวิชาการ30 พฤศจิกายน 2565 10:30:32
-
รูปแบบบทความวิชาการ16 พฤศจิกายน 2565 15:30:20
-
รูปแบบบทความวิจัย-วิทยานิพนธ์16 พฤศจิกายน 2565 15:29:48

ลำดับ | กิจกรรม | กำหนดเวลา | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
1 | Call for paper | ปัจจุบัน – 5 มกราคม 2566 | |
2 | วันสุดท้ายการชำระค่าลงทะเบียน | ปัจจุบัน – 5 มกราคม 2566 | |
3 | ประกาศผลพิจารณา | 31 มกราคม 2566 | เลื่อนเป็น 7 กุมภาพันธ์ 2566 |
4 | ปิดรับผลงานฉบับแก้ไข | 15 กุมภาพันธ์ 2566 | เลื่อนเป็น 28 กุมภาพันธ์ 2566 |
5 | ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน | ปัจจุบัน – 24 กุมภาพันธ์ 2566 | |
6 | ประกาศรายชื่อผู้เข้าร่วมงานทั้งหมด | 1 มีนาคม 2566 | |
7 | นำเสนอผลงาน | 22 มีนาคม 2566 | |
8 | เผยแพร่ Proceeding | เมษายน 2566 |
หลักการและเหตุผล
ภายใต้สภาวการณ์โลกที่เต็มไปด้วยความผันผวน (Volatility) ความไม่แน่นอน (Uncertainty)
ความซับซ้อนสูง (Complexity) และความคลุมเครือยากที่จะคาดเดา (Ambiguity) หรือที่เรียกกันว่า
VUCA นั้น ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ
รัฐบาลไทยจึงดำเนินการปรับปรุงแผนการปฏิรูปประเทศเพื่อรับมือกับพลวัตการเปลี่ยนแปลงใน 13 ด้าน
ที่จะเน้นเฉพาะกิจกรรมสำคัญ (Big Rock)
ซึ่งประเด็นด้านเศรษฐกิจเป็นอีกประเด็นสำคัญที่จะช่วยพัฒนาประเทศให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง
และยั่งยืน เพราะส่งผลกระทบสำคัญต่อความเป็นอยู่ของประชาชนในมิติต่าง ๆ ตามมาอีกด้วย
แนวคิดหลักในการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจมุ่งเน้นเสริมสร้างทักษะกำลังคนในระบบให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม
และบริการมากกว่า 35 ล้านคนโดยมุ่งกระตุ้นรายได้เพิ่มขึ้นผ่านการสร้างเศรษฐกิจมูลค่าสูง (High
Value Economy) ด้วยฐานเกษตรชีวภาพ (Bio-economy) และการท่องเที่ยวคุณภาพสูง (High Value
Tourism) ซึ่งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
มีส่วนรับผิดชอบในการพัฒนาศักยภาพคนเพื่อเป็นพลังในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
และส่งต่อเป็นหมุดหมายในการพลิกโฉมประเทศ และบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่
13 เพื่อสร้างสังคมก้าวหน้า และขับเคลื่อนประเทศสู่เศรษฐกิจสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืน
การวิจัย ซึ่งเป็นภารกิจหลักที่สำคัญของหน่วยงานภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จึงมีบทบาทสำคัญที่ไม่เพียงแต่สร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ
แต่ยังต้องพลิกโฉมงานวิจัยให้เกิดการสร้างเทคโนโลยี และนวัตกรรมพร้อมใช้
ที่จะช่วยยกระดับภาคการผลิต และอุตสาหกรรมตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ
จนถึงปลายน้ำให้สามารถยกระดับมูลค่าการผลิตแบบเดิม ให้เกิดคุณค่าเพิ่ม
และสร้างมูลค่าเพิ่มได้ด้วยตัวชุมชน และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
รวมถึงสร้างผู้ประกอบการใหม่ เพื่อสร้างรากฐานภาคการผลิต และการบริการให้เข้มแข็ง
พร้อมต่อยอดสู่การเป็นผู้ประกอบการที่จะสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวมได้
ดังนั้น สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
จึงได้จัดการประชุมวิชาการระดับชาติ ราชภัฏเลยวิชาการ ครั้งที่ 9 ประจำปี 2566 ขึ้น ภายใต้ชื่อ
“งานวิจัยเชิงพื้นที่เพื่อยกระดับเศรษฐกิจมูลค่าสูงของชุมชน” หรือ Area-based Research to
Strengthen the Community’s High Value Economy Conference 2023 ขึ้น
เพื่อเป็นเวทีในการนำเสนอผลงานวิชาการโดยแบ่งกลุ่มนำเสนอผลงานออกเป็น 5 กลุ่ม คือ 1)
กลุ่มมนุษยศาสตร์/สังคมศาสตร์ 2) กลุ่มครุศาสตร์ 3) กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 4)
กลุ่มบริหารธุรกิจ บริการ และการท่องเที่ยว และ 5) กลุ่มวิศวกรรม และอุตสาหกรรม
โดยรูปแบบการนำเสนอผลงาน แบ่งเป็น ภาคบรรยาย (Oral Presentation) และภาคโปสเตอร์ (Poster
Presentation) ซึ่งผู้นำเสนอผลงานและผู้เข้าร่วมประชุม
จะได้ใช้เวทีนี้ในการแลกเปลี่ยนความรู้และต่อยอดงานวิจัยเพื่อประโยชน์ต่อสังคมโดยรวมต่อไป
วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อเป็นเวทีในการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ นักวิจัย
นิสิต นักศึกษาในระดับอุดมศึกษาภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ตลอดจนหน่วยงานต่างๆ
2. เพื่อเป็นการสนับสนุนการบูรณาการผลงานวิจัยไปสู่การสร้างนวัตกรรมและการพัฒนาชุมชน
สังคม
และประเทศชาติ
3. เพื่อให้อาจารย์ นักวิจัย นิสิต
นักศึกษาในระดับอุดมศึกษาทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ตลอดจนหน่วยงานต่างๆ
ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสร้างเครือข่ายทางวิชาการ
เป้าหมายโครงการ
คณาจารย์ นักวิจัย นิสิต นักศึกษา ในระดับอุดมศึกษาบุคลากรจากหน่วยงานต่างๆ และผู้สนใจทั่วไป
ระยะเวลา
วันพุธที่ 22 มีนาคม 2566
สถานที่จัดประชุมวิชาการ
รูปแบบ Teleconference ผ่านระบบ Zoom Meeting และ Google Meet
รูปแบบการประชุม
1. การบรรยายพิเศษ
2. การนำเสนอผลงานวิชาการภาคบรรยาย (Oral Presentation)
3. การนำเสนอผลงานวิชาการภาคโปสเตอร์ (Poster Presentation)
4. การคัดเลือกบทความดีเด่น (Best paper)
5. การจัดทำรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ (Proceedings)
ลักษณะของผลงานและการแบ่งกลุ่มงานที่จะนำเสนอ
การนำเสนอผลงานวิชาการมี 2 รูปแบบ
1. การนำเสนอผลงานในรูปแบบบรรยาย (Oral Presentation)
ใช้เวลาในการนำเสนอ เรื่องละไม่เกิน 20 นาที (รวมซักถาม 5 นาที) รูปแบบการจัดทำบทความฉบับเต็ม
(Full Paper) สามารถดาวน์โหลดได้ที่ https://conference.lru.ac.th/
2. การนำเสนอผลงานวิจัยในรูปแบบโปสเตอร์ (Poster Presentation)กว้าง 80 ซม. X สูง 120 ซม.
โดยจัดทำโปสเตอร์ตามรูปแบบที่กำหนดและอัดคลิปวิดีโอนำเสนอความยาวไม่เกิน 15 นาที
โดยสามารถดาวน์โหลด template ของโปสเตอร์ได้ที่ https://conference.lru.ac.th/
การจัดทำโปสเตอร์ประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้
1) ชื่อเรื่อง ภาษาไทย (จัดให้อยู่กึ่งกลางหน้ากระดาษ)
2) ชื่อผู้วิจัย ภาษาไทย (จัดให้อยู่กึ่งกลางหน้ากระดาษ)
3) บทนำ
4) วัตถุประสงค์
5) วิธีดำเนินการวิจัย
6) ผลการวิจัย
7) ข้อเสนอแนะ
8) เอกสารอ้างอิง (เฉพาะที่อ้างอิงในโปสเตอร์นี้)
* โดยผลงานวิชาการข้างต้นจะต้อง
1. เป็นผลงานใหม่ที่ยังไม่เคยเผยแพร่ที่ใดมาก่อน
2. มีหัวข้อเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาต่าง ๆ ดังนี้
1) กลุ่มมนุษยศาสตร์/สังคมศาสตร์
2) กลุ่มครุศาสตร์
3) กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
4) กลุ่มบริหารธุรกิจ การบริการ และการท่องเที่ยว
5) กลุ่มวิศวกรรม และอุตสาหกรรม
การเตรียมบทความวิจัย/วิทยานิพนธ์
ความยาวไม่เกิน 7-12 หน้า ชนิดอักษร TH Saraban New หรือ TH Saraban PSK โดยใช้ขนาดตัวอักษร 14
ปกติ ประกอบหัวข้อ
(1) ชื่อเรื่องภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
(2) ชื่อผู้เขียน
(3) บทคัดย่อภาษาไทยและคำสำคัญ
(4) บทคัดย่อภาษาอังกฤษ (Abstract) และ Keywords
(5) ความเป็นมาของปัญหา
(6) วัตถุประสงค์ของการวิจัย
(7) วิธีดําเนินการวิจัย
(8) ผลการวิจัย
(9) อภิปรายผล
(10) สรุปผลการวิจัย
(11) ข้อเสนอแนะ
(12) เอกสารอ้างอิง (เฉพาะที่อ้างอิงในบทความนี้)
การเตรียมบทความวิชาการ
ความยาวไม่เกิน 7-12 หน้า ชนิดอักษร TH Saraban New หรือ TH SarabanPSK
โดยใช้ขนาดตัวอักษร 14 ปกติ ประกอบหัวข้อ
(1) ชื่อเรื่อง ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
(2) ชื่อผู้เขียน
(3) บทคัดย่อภาษาไทยและคำสำคัญ
(4) บทคัดย่อภาษาอังกฤษ (Abstract) และ Keywords
(5) บทนำ
(6) เนื้อหา
(7) บทสรุป
(8) เอกสารอ้างอิง (เฉพาะที่อ้างอิงในในบทความนี้)
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. มีการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ นักวิจัย นิสิต
นักศึกษาในระดับอุดมศึกษาจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และบุคลากรจากหน่วยงานต่างๆ
2. ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการในรูปแบบต่างๆ ได้รับการถ่ายทอด และแลกเปลี่ยนเรียนรู้
และสามารถนำไปต่อยอดทั้งในเชิงวิชาการ และการนำไปใช้ประโยชน์ต่อชุมชน และสังคม
3. อาจารย์ นักวิจัย นิสิต นักศึกษาในระดับอุดมศึกษาจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
และบุคลากรจากหน่วยงานต่างๆ ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลงานทางวิชาการ
4. เกิดเครือข่ายนักวิจัยในระดับชาติ
การจัดเตรียมบทความฉบับเต็ม (Full Paper)
1. การส่งต้นฉบับ ผู้นำเสนอจะต้องส่งต้นฉบับแบบพิมพ์ในรูปแบบของอิเล็กทรอนิกส์ไฟล์นามสกุล
“.doc” (MS Word) และ “.pdf” (PDF) ทางเว็บไซต์ https://conference.lru.ac.th/ ดังต่อไปนี้
1.1 ไฟล์บทความฉบับเต็ม (MS Word)
1.2 ไฟล์บทความฉบับเต็มที่ไม่ระบุชื่อสกุลและหน่วยงานที่สังกัดของผู้แต่ง (PDF)
(เพื่อส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ)
2. ผู้นำเสนอผลงาน สามารถดาวน์โหลดรูปแบบการจัดทำบทความฉบับเต็ม (Full Paper) ได้ที่
https://conference.lru.ac.th/
การพิจารณาผลงาน
1. พิจารณาการเลือกกลุ่มการนำเสนอผลงานและประเภทของการนำเสนอผลงาน
2. พิจารณาผลงานโดยผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 2 ท่าน
และประเมินบทความตามเกณฑ์และแบบฟอร์มที่กำหนด
3. พิจารณาคัดเลือกผลงานวิจัยที่จะนำเสนอในการประชุม
และที่จะรวบรวมเป็นรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ Proceedings
4. พิจารณามอบเกียรติบัตรให้แก่ผู้ได้รับการคัดเลือกบทความระดับดีเด่น
โดยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิร่วมประเมินผลงานที่นำเสนอทั้งภาคบรรยาย (Oral Presentation)
และภาคโปสเตอร์ (Poster Presentation)
การตีพิมพ์รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ (Proceedings) และเกียรติบัตร
1. ผลงานที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ
ทุกผลงานจะต้องผ่านกระบวนการร่วมนำเสนอในงานประชุมวิชาการ
หากผู้นำเสนอผลงานไม่ส่งคลิปนำเสนอและไม่เข้าร่วมกระบวนการในการนำเสนอผลงาน
บทความของท่านจะไม่ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการในครั้งนี้
2. บทความที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ (Proceeding)
ทางผู้จัดการประชุมจะดำเนินการขอรหัสตัวระบุวัตถุดิจิตอล (DOI) ทุกบทความ
หากเจ้าของบทความไม่ประสงค์ให้มีเลขที่ DOI ให้แจ้งมายังผู้จัดการประชุมเป็นลายลักษณ์อักษร
มาที่ E-Mail: lruconference2023@gmail.com
3. สำหรับผู้เข้าร่วมการนำเสนอผลงานทุกท่านจะได้รับเกียรติบัตรการนำเสนอผลงาน
ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้ผ่านทาง https://conference.lru.ac.th/ ตั้งแต่วันที่ 1
เมษายน 2566
เป็นต้นไป